บทความที่แล้วเราคงทราบกันแล้วว่าแผงโซลาร์เซลล์มีหลักการอย่างไรในการเปลี่ยนรูปแบบพลังงานแสงอาทิตย์ให้เกิดเป็นพลังงานไฟฟ้า บทความนี้เรามาเรียนรู้กันว่าชนิดของแผงโซลาร์เซลล์ที่มีการผลิตมาทำขายมีรูปแบบไหนบ้างและชนิดไหนมีประสิทธิภาพสูงที่สุด
ชนิดของแผงโซลาร์เซลล์มีชนิดหลักๆด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1. Crystalline
2. Thin Film
Crystalline
Crystalline สามารถแบ่งออกมาได้อีก 2 ชนิดซึ่งทางเราคิดว่าแผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้น่าจะหาง่ายที่สุดและมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด ซึ่งก็คือ Mono-Crystalline และ Poly-Crystalline
Mono Crystalline หรือ Single Crystalline จะมีรูปแบบการผลิตโดยใช้ผลึกแร่ Silicon มาหลอมละลายละทำเป็นแผ่นผลึก Wafer และนำมาตัดขอบให้มนซึ่งประเด็นคือในแต่ละ Cells จะต้องมาจากผลึกแร่แบบไร้รอยต่อ คือทำให้เกิดเป็น Single Cell ให้ดีที่สุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้าง Electron ให้ดีที่สุดนั้นเอง
Mono Crystallin
Mono Crystalline หรือ Single Crystalline จะมีรูปแบบการผลิตโดยใช้ผลึกแร่ Silicon มาหลอมละลายละทำเป็นแผ่นผลึก Wafer และนำมาตัดขอบให้มนซึ่งประเด็นคือในแต่ละ Cells จะต้องมาจากผลึกแร่แบบไร้รอยต่อ คือทำให้เกิดเป็น Single Cell ให้ดีที่สุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้าง Electron ให้ดีที่สุดนั้นเอง
นั้นทำให้ Mono Crystalline เป็นชนิดแผงโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในท้องตลาด ซึ่งก็คือ 20-21% ต่อพื้นที่ติดตั้ง
Mono Crystallin
Poly Crystalline ก็จะมีรูปแบบการผลิตโดยใช้แร่ Silicon เหมือนกับ Mono Crystalline แต่จะแตกต่างกันตรงที่ Poly นั้นจะไม่ได้มีผลึกแร่แบบไร้รอยต่อ แต่จะเป็นการเอาผลึกแร่ที่ผ่านการตัดในกระบวนการผลิตมาต่อกันใน Cell นั้นๆ ซึ่งนั้นทำให้ถ้าเห็นแผ่นโซลาร์เซลล์แบบ Poly Crystalline จะเห็นว่าตัว Cells จะมีสีออกน้ำเงินเหมือนน้ำทะเลและเห็นเป็นผลึกแร่ต่อกัน
โดยประสิทธิภาพของแผ่นโซลาร์เซลล์ชนิด Poly Crystalline จะอยู่ที่ประมาณ 15-17%
Thin Film
Thin Film คือชนิดแผงโซลาร์เซลล์ที่ไม่ได้ใช้ Crystalline ในการผลิต โดยจะชูจุดเด่นในเรื่องของความบางและความสามารถในการบิดพลิ้วตัวของแผ่นได้ ซึ่งมีข้อดีคือการที่แผงโซลาร์เซลล์แบบ Thin Film สามารถทำปฏิกิริยาในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้แม้ในพื้นที่แสงน้อยๆ เพราะฉะนั้นโซลาร์เซลล์ชนิดนี้จึงนำมาอยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใส่ระบบพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์เข้ามาเช่น เครื่องคิดเลข, นาฬิกาข้อมือ และอื่นๆ เพราะมีจุดเด่นในการสร้างกระแสไฟฟ้าได้แม้ในพื้นที่แสงน้อย
ตรงที่ Poly นั้นจะไม่ได้มีผลึกแร่แบบไร้รอยต่อ แต่จะเป็นการเอาผลึกแร่ที่ผ่านการตัดในกระบวนการผลิตมาต่อกันใน Cell นั้นๆ ซึ่งนั้นทำให้ถ้าเห็นแผ่นโซลาร์เซลล์แบบ Poly Crystalline จะเห็นว่าตัว Cells จะมีสีออกน้ำเงินเหมือนน้ำทะเลและเห็นเป็นผลึกแร่ต่อกัน
โดยประสิทธิภาพของแผ่นโซลาร์เซลล์ชนิด Poly Crystalline จะอยู่ที่ประมาณ 15-17%
Thin Film คือชนิดแผงโซลาร์เซลล์ที่ไม่ได้ใช้ Crystalline ในการผลิต โดยจะชูจุดเด่นในเรื่องของความบางและความสามารถในการบิดพลิ้วตัวของแผ่นได้ ซึ่งมีข้อดีคือการที่แผงโซลาร์เซลล์แบบ Thin Film สามารถทำปฏิกิริยาในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้แม้ในพื้นที่แสงน้อยๆ เพราะฉะนั้นโซลาร์เซลล์ชนิดนี้จึงนำมาอยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใส่ระบบพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์เข้ามาเช่น เครื่องคิดเลข, นาฬิกาข้อมือ และอื่นๆ เพราะมีจุดเด่นในการสร้างกระแสไฟฟ้าได้แม้ในพื้นที่แสงน้อย
แต่แผงโซลาร์เซลล์แบบ Thin Film ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในสมัยก่อน เช่น Amourphous จึงไม่เหมาะในการนำมาติดตั้งในระบบ Solar Rooftop เนื่องจากประสิทธิภาพต่อพื้นที่ค่อนข้างต่ำ ประมาณ 6-9% เท่านั้นจึงทำให้ที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่จำกัด แต่จะเหมาะมากกว่ากับการติดตั้งตามรถ Carnival หรือรถบ้านที่สามารถติดตั้งบนหลังคารถเพราะด้วยความที่มีน้ำหนักเบา และ ความบิดพลิ้วโค้งงอไปได้กับโครงสร้างที่มีการติดตั้ง
สรุปจากบทความนี้ แผงโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟต่อพื้นที่ที่สุดคือ Mono Crystalline และสามารถหาซื้อในการติดตั้งในระบบโซลาร์รูฟท็อปได้ง่ายที่สุดและมีขนาดให้เลือกใช้ได้มากที่สุด