J2GD

Peak Sun Hour ช่วยวิเคราะห์ขนาด Solar Rooftop

อยากรู้ไหมว่าชั่วโมงทำงานของแดดจัดๆต่อวันเป็นเท่าไหร่

สวัสดีครับ บทความนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังสำหรับความเข้าใจที่เกี่ยวกับชั่วโมงทำงานของแดดในสภาวะ Peak นะครับว่าของเมืองไทยเป็นเท่าไหร่ และ Peak Sun Hour ช่วยวิเคราะห์ขนาด Solar Rooftop ได้อย่างไร

ซึ่งจะสอดล้องกับเนื้อหาบทความที่แล้ว ที่เราได้พูดคุยเกี่ยวกับการหาหน่วยพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในช่วงกลางวันเพื่อมาวิเคราะห์หาแนวโน้มของขนาดกำลังไฟฟ้าจากระบบ Solar Rooftop ว่าควรติดตั้งที่ขนาดเท่าไหร่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกท่านอยากรู้กันอย่างแน่นอนครับ

ในความเป็นจริงนั้นชั่วโมงทำงานของแดดที่มีความเข้มแสงเข้มข้นที่สุดถึงขั้น peak นั้นของประเทศไทยจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4.5-5 ชั่วโมงต่อวันครับ 

แผงโซลาร์เซลล์โดนแดดสะท้อน

Peak Sun Hour มีความหมายว่าอะไร

จริงๆอยากให้เราทราบก่อนครับว่า Peak ในความหมายของความเข้มแสงนั้นจะมีตัวเลขอยู่ที่ 1,000 วัตต์ต่อตารางเมตร ซึ่งตัวเลขนี้จะเป็น 1 ในค่าทดสอบแผงโซลาร์เซลล์ก่อนที่จะวางจำหน่ายเช่นเดียวกันครับ 

หลายๆท่านคงจะทราบว่าแผงโซลาร์เซลล์เมื่อวางจำหน่าย ที่บอกว่าแผงนี้ขนาด 500W, 550W, 580W, 600W หรืออื่นๆนั้น ผู้ผลิตได้เอาค่าพวกนี้มาจากการ Test ด้วยกัน 3 สภาวะ

  1. Test ที่ความเข้มแสง 1,000 วัตต์ต่อตารางเมตร
  2. Test ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
  3. Test ที่มวลอากาศ 1.5AM

เราเรียกทั้ง 3 ข้อนี้ว่า “Standard Test Conditions” หรือว่า “STC” ครับ

ในส่วนของ Peak Sun นั้นคือการ Test ในข้อที่ 1 ครับ ซึ่งมีความหมายเดียวกัน เพราะฉะนั้นเรามักจะเห็นหรือทราบได้ว่า แผงโซลาร์เซลล์ที่นำมาติดตั้งส่วนใหญ่จึงมักไม่ได้กำลังการผลิตตามที่ Nameplate Specification ได้อ้างอิงไว้ นั้นเป็นเพราะว่าอาจจะมีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ได้เป็นไปตาม STC นั้นเองครับ

Longi Himo6 HPBC Banner

Peak Sun Hour สามารถนำมาวิเคราะห์ขนาดการติดตั้งได้อย่างไร

จากบทความที่แล้วที่เราได้ทราบถึงหน่วยพลังงานไฟฟ้าภายในบ้านอยู่อาศัยว่ามีการใช้งานเท่าไหร่บ้างในช่วง Day light หรือช่วงกลางวัน ซึ่งอย่างที่ผมอธิบายไปจะมีด้วยกัน 2 วิธี คือ

  1. การประเมินสัดส่วนการใช้ไฟในช่วงกลางวัน และ กลางคืน
  2. การบันทึกหน่วยไฟฟ้าจากมิเตอร์การไฟฟ้าที่หน้าบ้าน

ซึ่งไม่ว่าเราจะได้หน่วยพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบไหน เราจะนำมาคำนวณต่อกันได้ตามนี้เลยครับ

สมมติว่าบ้านผมมีการบันทึกหน่วยพลังงานไฟฟ้าด้วยวิธีที่ 2 ซึ่งผมได้ทำการถ่ายรูปมิเตอร์ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่ 1 คือประมาณ 8.00 และช่วงเวลาที่ 2 คือประมาณ 17.00 

โดยในกรณีนี้เมื่อผมเอาตัวเลขมาตรวจสอบดูจะพบว่าตัวเลขมิเตอร์มีการหมุนไป 25 หน่วย(kWh) ซึ่งหมายความว่าในช่วงกลางวันนั้น ไม่ว่าผมจะใช้อะไรภายในบ้านอยู่อาศัย มีการใช้ไฟฟ้าไปทั้งสิ้น 25 หน่วย

ผมสามารถเอา PSH(Peak Sun Hour) ที่เวลา 5 ชั่วโมงต่อวัน มาหารจากหน่วยไฟฟ้าที่จดมาได้เลยครับ ซึ่งในกรณีของผมนั้นจะได้เป็น

5หน่วย หาร 5 ชั่วโมงของ PSH จะได้เป็น 5kW ซึ่งเป็นขนาดกำลังของระบบ Solar Rooftop ที่บ้านอยู่อาศัยของเราควรติดตั้งนั้นเองครับ👍

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ "นโยบายความเป็นส่วนตัว" และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้มีความสำคัญต่อการให้บริการบนเว็บไซต์แก่คุณและเพื่อให้คุณสามารถใช้คุณลักษณะบางอย่างได้ คุกกี้เหล่านี้ช่วยในการยืนยันตัวบุคคลของผู้ใช้งานและช่วยป้องกันการปลอมแปลงบัญชีผู้ใช้งาน หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้เราอาจไม่สามารถให้บริการแก่คุณได้ เราใช้คุกกี้ดังกล่าวนี้เพื่อให้บริการแก่คุณ

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้ใช้งานบนไซต์ของเรา รวมถึงทำให้เราเข้าใจถึงวิธีการที่ผู้ใช้งานใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา สิ่งเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์เรา เช่น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้ง่ายขึ้น

บันทึกการตั้งค่า