J2GD

ข้อดี-ข้อเสีย บ้านหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์

ปัจจุบันการติดตั้งโซลาร์ รูฟท๊อป (Solar Rooftop) หรือ หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้น จึงทำให้ผู้คนต่างหันมาเลือกพลังงานทางเลือกอย่างแสงอาทิตย์เพื่อที่จะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว แต่ก่อนจะตัดสินใจติดตั้งลองมาศึกษาข้อดี-ข้อเสีย บ้านหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์กันก่อนดีกว่า ว่ามันจะคุ้มค่าที่จะลงทุนจริง ๆ ไหม

ข้อดี
ข้อเสีย
ประหยัดค่าไฟฟ้า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นจำนวนมาก
สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับบ้านของคุณ
ปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ
สามารถสร้างรายให้กับคุณได้ จากปริมาณไฟฟ้าเหลือใช้
ต้องมีการบำรุง ดูแลรักษา
ผลิตไฟฟ้าได้ทุกขนาด
ไม่ใช่บ้านทุกหลังจะเหมาะกับการติดตั้งโซลาร์ เซลล์ ต้องศึกษาและคำนวณก่อนตัดสินใจติดตั้ง

ข้อดี

ประหยัดค่าไฟฟ้า และดีต่อสิ่งแวดล้อม

บ้านหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าให้เราใช้กันฟรี ๆ ได้ถึงวันละ 6-8 ชั่วโมง สามารถใช้งานได้ทุกวันที่มีแดดโดยไม่มีวันหมดอายุ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าให้เราได้ถึง 2,000-3,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว

นอกจากความประหยัดแล้วยังช่วยเหลือธรรมชาติ ช่วยลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นหนึ่งในตัวการในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) อีกด้วย

สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับบ้าน บริษัท รวมถึงโรงงานของคุณ

สำหรับบ้านพักที่อยู่อาศัยหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ย่อมต้องสร้างมูลค่าให้กับบ้านในตลาดได้มากกว่าบ้านธรรมดาที่ไม่ได้ติดตั้ง เพราะการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์กำลังเป็นเทรนด์ที่เริ่มนิยมอย่างมาก เนื่องจากค่าไฟฟ้าที่นับวันมีแต่จะเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ผู้คนจึงต่างพากันมองหาทางเลือกในการประหยัดเงิน ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ตอบโจทย์ในจุดนี้ อีกทั้งบ้านที่ติดตั้งหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์มาแล้วทำให้พวกเขาจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการติดตั้ง

สามารถสร้างรายให้กับคุณได้ จากปริมาณไฟฟ้าเหลือใช้

บ้านหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับคุณได้จากปริมาณไฟฟ้าที่เหลือใช้จากการใช้งานของคุณโดยการขายคืนให้กับการไฟฟ้านครหลวง โดยจะรับซื้อไฟฟ้าที่ราคา 2.20 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลาสัญญา 10 ปี สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง

ส่วนบริษัท หรือ โรงงาน ก็สามารถสร้างมูลค่าและ รายได้จากการขาย “คาร์บอนเครดิต (Carbon credit)” อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ในอนาคต บริษัท หรือ โรงงาน ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะต้องถูกลงโทษ (เช่นเก็บภาษีเพิ่ม) ตามที่กฎหมายกำหนด แต่จะทำยังไงเพื่อไม่ให้ถูกลงโทษ บริษัท หรือ โรงงาน เหล่านั้นก็ต้องไปซื้อ คาร์บอนเครดิต จากบริษัท หรือ โรงงาน ที่ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกินมาเป็นเครดิตของตัวเอง

ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวแล้วเพราะเริ่มมีการซื้อขายกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ. 2563 มีมูลค่าตลาดการซื้อขายอยู่ที่ 12,000 ล้านบาท และมีการคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นถึง 10-15 เท่าในปี พ.ศ. 2573

ผลิตไฟฟ้าได้ทุกขนาด

หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์นั้นสามารถผลิตไฟฟ้าได้ทุกขนาดตั้งแต่ หลอดไฟฟ้าดวงเล็ก ๆ, พัดลมตั้งพื้น, เตารีด, แอร์ขนาด 12,000 BTU ไปจนถึงการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับโรงงานขนาดใหญ่

ข้อเสีย

หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นจำนวนมาก

อย่างที่ทุกคนรับรู้กันว่าหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์นั้นจะต้องลงทุนครั้งแรกในราคาที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ต้นทุนขึ้นอยู่กับขนาดของความต้องการในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งคุณสามารถคำนวณเบื้องต้นได้จาก ตารางประเมินค่าไฟฟ้าและความคุ้มค่าหลังติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์

เพื่อแก้ไขปัญหานี้ทาง J2GD จึงจับมือกับทางธนาคารเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับทุกคน ด้วยระบบผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิต 6 เดือน/ 10 เดือน และ ระบบผ่อนระยะยาวสูงสุด 8 ปีอีกด้วย ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดต่อได้ที่ วิธีการชำระเงิน

ปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ

นี่เป็นข้อเสียหลักสำหรับการติดตั้งหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ เพราะการผลิตพลังงานไฟฟ้านั้นจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ หากวันไหนมีสภาพอากาศที่ไม่ดี มีฝนตก ก็จะสามารถผลิตปริมาณไฟฟ้าได้น้อย

ต้องมีการบำรุง ดูแลรักษา

สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาหลังจากการติดตั้งหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ก็คือการบำรุงรักษา ซึ่งปกติควรจะทำการล้างแผงโซลาร์ เซลล์ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อล้างเอาคราบฝุ่น ขี้นก หรือคราบไอละออง ต่าง ๆ ออก เพื่อให้แผงโซลาร์ เซลล์ ของเรานั้นคงสภาพในการผลิตไฟฟ้าให้ดีที่สุด

ไม่ใช่บ้านทุกหลังจะเหมาะกับการติดตั้งโซลาร์ เซลล์ ต้องศึกษาและคำนวณก่อนตัดสินใจติดตั้ง

หลายคนคิดว่าการติดตั้งหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์นั้นจะติดส่วนไหนก็ได้ของหลังคา แต่ความจริงคือการติดตั้งแต่ละจุดจะให้ประสิทธิภาพแตกต่างกัน

ซึ่งต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจหน้างาน วิเคราะห์ และพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหา สามารถขึ้นไปติดตั้งได้ มีองศาเหมาะสม ตรวจสอบเงาตกกระทบ และหลังคามีพื้นที่เพียงพอต่อการวางแผงโซลาร์ เซลล์ ซึ่งทิศทางที่เหมาะสมสุดในการติดตั้งคือทางทิศใต้ เนื่องจากจะได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน

ซึ่งบ้านไหนที่อาจจะอยู่ติดกับตึกสูง หรือต้นไม้ที่มีเงาตกกระทบ อาจจะทำให้ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ผู้ที่สนใจจะติดตั้งควรจะคำนวณปริมาณการใช้งานไฟฟ้าในแต่ละวันของตัวเองว่ามีปริมาณการใช้งานแค่ไหน เพื่อที่จะเลือกขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสม และคืนทุนได้อย่างรวดเร็ว

บางคนอาจจะเลือกขนาดการผลิตที่มากจนเกินความจำเป็นต้นทุนก็จะสูงขึ้น ระยะเวลาการคืนทุนก็จะช้าลง ถึงแม้ว่าจะสามารถขายไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้าได้แต่ก็ต้องมาคำนวณให้ดีถึงความคุ้มค่า

หากท่านไหนสนใจที่จะติดตั้งหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ อยากจะติดต่อเราเพื่อขอคำปรึกษา หรือวิเคราะห์หน้างาน ทางเราก็ยินดีให้บริการ

โดยเราจะมีแอปพลิเคชันที่ชื่อ Solar System Planner ที่จะช่วยให้ประเมินรูปแบบการใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันที่จะทำให้คุณสามารถวางแผนการลงทุนได้อย่างคุ้มค่า และ มีโปรแกรมที่จะช่วย ออกแบบประเมินจุดติดตั้งหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อที่เราจะได้จุดติดตั้งที่ดีที่สุดก่อนการติดตั้งจริง คงพอจะทราบถึงข้อดี-ข้อเสีย บ้านหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ กันแล้ว หากสนใจขอคำปรึกษา สามารถติดต่อเราเพื่อประเมินหน้างานได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ "นโยบายความเป็นส่วนตัว" และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง (Strictly Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้มีความสำคัญต่อการให้บริการบนเว็บไซต์แก่คุณและเพื่อให้คุณสามารถใช้คุณลักษณะบางอย่างได้ คุกกี้เหล่านี้ช่วยในการยืนยันตัวบุคคลของผู้ใช้งานและช่วยป้องกันการปลอมแปลงบัญชีผู้ใช้งาน หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้เราอาจไม่สามารถให้บริการแก่คุณได้ เราใช้คุกกี้ดังกล่าวนี้เพื่อให้บริการแก่คุณ

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้ใช้งานบนไซต์ของเรา รวมถึงทำให้เราเข้าใจถึงวิธีการที่ผู้ใช้งานใช้งานบนเว็บไซต์ของเรา สิ่งเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์เรา เช่น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้งานสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้ง่ายขึ้น

บันทึกการตั้งค่า